เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 3. นิฏฐังคตสูตร
สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ฯลฯ
โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหาร
อย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝน
ตกลงหนักๆ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา
ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็ม
แล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็ม
แล้วทำให้มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยม
อย่างนี้
ตัณหาสูตรที่ 2 จบ

3. นิฏฐังคตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เชื่อมั่นในตถาคต
[63] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ1 บรรดาบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น บุคคล 5
จำพวกมีความสำเร็จ2 ในโลกนี้ และบุคคล 5 จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงมีความ
สำเร็จ

เชิงอรรถ :
1 ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันขึ้นไป ซึ่งมีชื่อว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ’
บ้าง ‘ผู้มาสู่พระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้เห็นพระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้
ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้เข้าถึงกระแสธรรม’ บ้าง ‘ผู้มีปัญญาแทงตลอด’ บ้าง ‘ผู้ยืนจรด
ประตูอมตะ’ บ้าง (องฺ.เอกก.อ. 1/268/402)
2 มีความสำเร็จ ในที่นี้หมายถึงปรินิพพานในปัจจุบัน ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ หมายถึงเข้าถึง
พรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วจึงปรินิพพาน (องฺ.ทสก.อ. 3/63-64/353)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :140 }